ต้องการออกแบบหน้าบ้าน ทาวน์โฮมให้สวยจะมีรูปแบบไหนที่น่าสนใจบ้าง
พื้นที่ทางเข้าหน้าบ้านนั้นเรียกได้ว่าเป็นเสมือนหน้าตาของบ้าน ซึ่งจะสื่อความหมายของรสนิยมความชอบของเจ้าบ้าน และหากเปรียบราวกับบ้านเป็นหนังสือ พื้นที่ส่วนนี้ก็ถือเป็นหน้าปกและบทนำที่จะเป็นส่วนนำผู้อ่านหรือผู้มาเยี่ยมเยือนให้เกิดความรู้สึกและความพร้อมก่อนจะเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ภายใน การออกแบบพื้นที่ทางเข้าหน้าบ้านที่ดีจึงไม่เป็นเพียงการยกระดับหน้าตาและความสวยงามเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการทำหน้าที่เป็นส่วนปรับและเปลี่ยนถ่ายอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้งานทั้งก่อนที่จะเข้าไปยังพื้นที่ภายใน และก่อนที่จะออกมาพบกับพื้นที่ภายนอกบ้าน
มาลองดูไอเดียการออกแบบตกแต่งพื้นที่ทางเข้าหน้าบ้านของคุณให้มีคุณภาพที่ดีทั้งด้านความงามและการใช้งาน
- พืชพรรณไม้เลื้อยสร้างความเป็นธรรมชาติ
หากพื้นที่หน้าบ้านคุณมีขนาดที่ไม่กว้างขวางมากนัก งานภูมิทัศน์เล็กๆน้อยๆอย่างเช่นพืชพรรณจำพวกไม้เลื้อยและไม้พุ่ม เป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้หน้าบ้านของคุณมีบรรยากาศที่ไม่แข็งกระด้าง และดูสดชื่นเป็นธรรมชาติมากขึ้น
- นำความรู้สึกด้วยบันไดไปสู่ประตูบ้าน
ขั้นบันไดเล็กๆช่วยให้พื้นที่มีการนำความรู้สึกก่อนจะเข้าไปยังตัวบ้านได้เป็นอย่างดี ออกแบบหน้าบ้านนั้นวัสดุที่นักออกแบบส่วนใหญ่เลือกใช้ก็มักจะเป็นวัสดุจำพวกหินซึ่งทนทานต่อการใช้งานและสภาพแวดล้อม ตกแต่งสองข้างทางเข้าด้วยสนามหญ้าหรือพืชพรรณสีเขียว ก็ช่วยปรับความรู้สึกของผู้ใช้งานได้อย่างดี
- แผ่นทางเดินไม้ สัมผัสอบอุ่นแบบบ้านชนบท
ทำบรรยากาศหน้าบ้านของคุณให้ดูอบอุ่นเป็นกันเองราวกับเป็นบ้านชนบทได้ง่ายๆด้วยออกแบบหน้าบ้าน ให้มีแผ่นทางเดินไม้ ลองใช้วิธีการปูแผ่นทางเดินแบบเว้นช่องว่างระหว่างก้าวแต่ละก้าว เติมช่องว่างด้วยพืชพรรณไม้คลุมดิน ทำให้หน้าบ้านมีบรรยากาศเป็นมิตรราวกับเป็นบ้านชนบทที่มีบรรยากาศอันอบอุ่น
- สัมผัสของพื้นผิวกรุผนังที่แตกต่าง สร้างความน่าสนใจ
สังเกตการเลือกใช้วัสดุกรุพื้นผิวผนังนอกบ้าน และวัสดุที่ใช้กับรั้วและพื้นทางเดินซึ่งเน้นการใช้วัสดุโทนสีเทาดำ ทั้งหินกาบ หินแกรนิตและไม้สีดำ ซึ่งให้บรรยากาศแบบดิบเท่และสร้างมิติด้านมุมมองให้ดูหน้าบ้านดูสวยแบบบ้านโมเดิร์น
- ทางเข้าบ้านลึกแต่ไม่ลับ มีชั้นเชิงด้วยการหลบมุม
เว้นพื้นที่สำหรับทางเข้าหน้าบ้านสักนิดเพื่อไม่ให้ปะทะกับพื้นที่ทางเดินหรือบริเวณลานจอดรถมากเกินไป การหลบมุมประตูทางเข้าบ้านไม่ให้มองเห็นได้ชัดเจนถือเป็นผลดีที่ทำให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
- โถงทางเดินโปร่งนำไปสู่ทางเข้า
ก่อนจะเข้าไปยังประตูเข้าบ้าน สามารถออกแบบหน้าบ้าน ให้พื้นที่ส่วนเชื่อมต่อที่ออกแบบเป็นโถงทางเดินโปร่งที่สามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่สวนและสนามหญ้า และตกแต่งส่วนกำบังแดดฝนด้วยไม้ เป็นกลวิธีที่ช่วยให้เกิดความดึงดูดให้นำไปยังตัวบ้านภายใน ทั้งยังเป็นการปรับความรู้สึกก่าอนที่จะเข้าไปยังตัวบ้านด้วย
- ไม้ วัสดุสวยช่วยสร้างความอบอุ่นให้รูปลักษณ์
การเลือกใช้ไม้ในการเป็นวัสดุสำหรับกรุพื้นผิวผนังนอกบ้านเป็นการช่วยสร้างรูปลักษณ์ของบ้านให้มีความอบอุ่นและดูเป็นมิตรกับผู้มาเยือนราวกับเป็นบ้านชนบทเรียบง่าย ซึ่งวัสดุไม้นี้สามารถเข้ากันได้ดีกับวัสดุอื่นๆทั้งหินหรือคอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุสมัยใหม่ โดยเจ้าบ้านสามารถเลือกสรรทั้งตัววัสดุและวิธีการตกแต่งผนังหน้าบ้านได้อย่างหลากหลายตามใจชอบ ทั้งยังมีราคาค่าก่อสร้างที่ไม่แพงอย่างที่คิด
- กรอบมุมให้กับบริเวณประตูทางเข้า เพื่อเน้นความสำคัญ
บริเวณทางเข้าหน้าบ้านอาจแลดูเรียบๆไม่มีมิติหากไม่มีการกรอบล้อมพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้การกรอบพื้นที่ลักษณะนี้ยังเป็นผลดีด้านการใช้งานโดยเป็นส่วนปกคลุมกันแดดและฝน เป็นพื้นที่ปรับความรู้สึกและคั่นกลางป้องกันการปะทะกันของตัวบ้านและพื้นที่ภายนอกได้เป็นอย่างดี การเลือกใช้วัสดุอาจเลือกใช้หินซึ่งเป็นวัสดุที่ทนทานและให้รูปลักษณ์สัมผัสที่เป็นธรรมชาติ
- ไฟส่องสว่าง สร้างบรรยากาศและเน้นสัมผัสวัสดุให้น่าสนใจ
เทคนิคการใช้ไฟในการส่องไปยังพื้นผิววัสดุนั้นถือเป็นเทคนิคที่เป็นที่นิยมในการช่วยให้บ้านแลดูใส่ใจในความงามและรูปลักษณ์ในยามค่ำคืน นอกจากความสวยงามของพื้นผิวที่ผ่านแสงไฟให้เห็นเป็นแสงเงาสวยงามแล้วนั้น ยังช่วยในเรื่องของความปลอดภัยของตัวบ้านในยามค่ำคืนอีกด้วย
- ใส่ใจรายละเอียดของพืชพรรณบริเวณทางเดินให้มากขึ้น
การใช้พืชพรรณกับทางเดินที่นำไปสู่ทางเข้าบ้าน ตั้งแต่แผ่นหินทางเท้าที่มีการวางเว้นร่องสำหรับปลูกพืชคลุมดินจำพวกหญ้าขึ้นระหว่างแผ่นหิน ส่วนสองข้างทางเดินใช้ไม้พุ่มขนาดเล็กเรียงตัวไปตามแนวทางเดิน ช่วยสร้างความสดชื่นให้กับการใช้งานได้อย่างง่ายๆ
- ประตูไม้และแผงกันแดด ความงามอบอุ่นที่ผสานความโมเดิร์น
สำหรับบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวแต่ไม่ต้องการความรู้สึกอึดอัดทึบตันนั้น ทางเข้าบ้านที่ออกแบบให้ใช้วัสดุไม้เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ความแข็งกระด้างนั้นถูกลดลง และให้ความรู้สึกอบอุ่นมากขึ้น เพิ่มคุณภาพการใช้งานด้วยแผงกันแดดระแนงไม้ ทำให้การใช้งานและภาพลักษณ์มีความโมเดิร์นยิ่งขึ้น
- หลังคาเหลื่อมซ้อน เน้นความสำคัญและกำบังแดดฝน
การออกแบบให้พื้นที่ทางเข้าตัวบ้านมีหลังคาเหลื่อมซ้อนออกมาจากตัวหลังคาที่ปกคลุมตัวบ้านในอีกระดับ เป็นการสร้างความสำคัญในมุมมองที่มองจากหน้าบ้าน ซึ่งจากภาพบ้านตัวอย่างจะเห็นได้ถึงตัวหลังคาบริเวณทางเข้าที่ถูกออกแบบให้แยกจากหลังคาบ้านในอีกระดับที่ต่ำกว่า นอกจากลักษณะทางเข้าที่ดูโดดเด่นขึ้นแล้ว ยังเป็นผลดีต่อการใช้งานในการป้องกันกำบังแดดฝน เหมาะสำหรับบ้านที่ตั้งในพื้นที่ฝนชุกอย่างประเทศไทยเรา
เป็นยังไงกันบ้างกับไอเดียการออกแบบหน้าบ้าน สามารถนำไปใช้กับทาวน์โฮมบ้านของคุณกันได้ ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับบ้านทาวน์โฮม ได้ที่ townhomeplus.com