ต่อเติมหลังบ้าน ทาวน์โฮม pantip ทำเป็นพื้นที่อะไรได้บ้าง ไอเดียดี ๆ รวมไว้ให้แล้ว
พื้นที่หลังบ้านของทาวน์โฮม นิยมที่จะต่อเติมเป็นห้องครัวและบริเวณซักล้าง บางบ้านที่ชอบต้นไม้ ก็อาจจะถูกจัดเป็นสวนเล็ก ๆ หลังบ้าน ใน pantip สมาชิกที่มีบ้านทาวน์โฮมมักจะขอคำแนะนำสำหรับการต่อเติมหลังบ้านกัน ก็จะมีสมาชิกคนอื่น ๆ ที่เคยมีประสบการณ์มาช่วยกันตอบคำถาม ทำให้เราได้ข้อมูลตรงจากประสบการณ์ของคนที่เคยต่อเติมหลังบ้าน ทาวน์โฮมกันมาจริง ๆ เพื่อให้ข้อมูลสำหรับคนที่กำลังต้องการต่อเติมหลังบ้านของตัวเอง
ข้อแนะนำแรก ๆ สำหรับการต่อเติมหลังบ้าน ทาวน์โฮมนั้นก็จะมีเรื่องของกฎหมายที่ต้องตรวจสอบและดำเนินการขออนุญาตกันให้ถูกต้องเสียก่อน อีกข้อก็จะเป็นเรื่องของเพื่อนบ้าน ซึ่งทาวน์โฮมนั้นมีการใช้พื้นที่กำแพงติดกัน หลังบ้านก็มีรั้วที่ใช้ร่วมกัน การต่อเติมนั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านก่อน เพราะถ้าถูกร้องเรียนภายหลัง อาจจะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ จะลำบากใจและปวดหัวกันเพิ่มขึ้นอีก เงื่อนไขการขออนุญาต ก็จะมีดังนี้
- ทำแบบส่งไปขอสำนักงานเขตที่คุณอยู่เพื่อแจ้งการต่อเติมแบบถาวร ว่าจะทำอะไร ใครทำให้ มีวิศวกรมาดูแลโครงสร้างหรือเปล่า
- ผนังทึบต้องเว้นระยะห่างจากกำแพงเพื่อนบ้านไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และเพื่อนบ้านต้องยินยอม
- ผนังที่มีช่องเช่นหน้าต่าง ประตู ช่องแสง หรืออะไรก็ตามที่เป็นช่อง ต้องเว้นระยะห่างจากรั้วที่ดินคนอื่นไม่น้อยกว่า 2 เมตร
สำรวจขนาดพื้นที่ว่างของบ้าน
บ้านส่วนใหญ่ จะมีพื้นที่ว่างเหลือด้านหลังและด้านข้าง การต่อเติมครัว จึงนิยมใช้ด้านหลังมากกว่าด้านข้าง เพราะสะดวกต่อการเชื่อมต่อ ของระบบต่าง ๆ รวมถึงการเข้า-ออกด้วย
สำรวจโครงสร้าง
พื้นห้องครัว หากเป็นพื้นดิน สามารถเทพื้นคอนกรีต วางบนดินได้เลย โดยไม่ต้องมีคานรองรับ การถ่ายเทน้ำหนักของพื้นแบบนี้ จะถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรง ควรบดอัดดิน หรือทรายให้แน่นก่อนที่จะเทคอนกรีต เพื่อป้องกันการแตกร้าว หากดิน หรือทรายเกิดยุบตัว และพื้นแบบนี้ ไม่ควรเอาไปติดกับโครงสร้างเดิม เพราะจะมีโอกาสทรุดตัวลงตามดินได้ หากต้องการชะลอการทรุดตัว ควรลงเสาเข็มสั้น แบบปูพรม
โครงสร้างหลังคา ควรทำโครงใหม่อีกอัน โดยไม่ต่อกับโครงสร้างบ้านเดิม เวลาเกิดการทรุดตัว จะได้ไม่ดึงโครงสร้างเดิมให้เสียหายไปด้วย ถ้าหากจำเป็นต้องยึดโครงหลังคาใหม่ เข้ากับโครงสร้างเดิม ควรทำจุดเชื่อมต่อ ให้สามารถขยับได้ จะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นในภายหลังด้วย
วัสดุมุงหลังคา ควรใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เพราะจะไม่ทำให้โครงสร้างส่วนต่อเติม รับน้ำหนักมากจนเกินไป เลือกหลังคาแบบทึบแสง เช่น เมทัลชีท, ไวนิล, UPVC หรือหลังคาแบบโปร่งแสง เช่น โพลีคาร์บอเนต, อะคริลิค, ไฟเบอร์กลาส จะช่วยให้ห้องครัวได้รับแสงธรรมชาติมากขึ้น อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีซ่อมหลังคารั่ว ทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ง้อช่าง
ค่าต่อเติม และค่าวัสดุตามงบประมาณ
การคำนวณค่าใช้จ่าย ในการ ต่อเติมครัว ซึ่งปกติ จะเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมา ที่จะทำการเสนอราคามาให้ เช่น ฐานราก หลังคา โครงสร้างผนังครัว วัสดุปิดพื้นผิว-ผนัง และเคาน์เตอร์ครัว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ควรเตรียมค้นหาข้อมูล ราคาสินค้าไว้คร่าว ๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้คำนวณค่าใช้จ่ายได้ ในกรณีที่อาจจะมีสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องซื้อเสียเงินเพิ่ม
เลือกรูปแบบที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์
ควรสำรวจการใช้งานของสมาชิกในครอบครัวว่า ปกติแล้วใช้กันมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะได้ตัดสินใจเลือกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของทุกคน
ครัวแบบทึบ
ครัวแบบนี้มีผนังล้อมรอบ 4 ด้านมีหลังคาปิดมิดชิด เหมาะกับบ้านที่ไม่ค่อยได้ทำกับข้าว หรือบ้านที่มีเนื้อที่หลังบ้านน้อยหรือชิดติดกับบ้านข้าง ๆ มาก ทำให้ไม่สามารถเปิดโล่งได้
ข้อดี คือ สามารถทำชั้น Built-In จัดเก็บจานชามอุปกรณ์ต่าง ๆ ป้องกันสัตว์และฝุ่นจากภายนอกได้ดี รวมทั้งมีความเป็นส่วนตัว
ข้อเสีย คือ ไม่ค่อยระบายอากาศหรือควัน ควรติดตั้งเครื่องดูดควันและมีพัดลมระบายอากาศ ก็จะช่วยลดปัญหาได้มาก อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายสูงเพราะใช้วัสดุ โครงสร้าง และการเตรียมระบบงานมากกว่า ยังมีโอกาสทรุดตัวเร็วกว่าครัวแบบโปร่ง เพราะน้ำหนักที่มากกว่า
ครัวแบบโปร่ง
ห้องครัวแบบนี้ จะระบายอากาศและกลิ่นควันจากการปรุงอาหารได้ดี จึงเหมาะกับบ้านที่ชอบทำอาหารทานเองบ่อย ๆ ลักษณะครัวส่วนใหญ่ จะทำเป็นผนังทึบช่วงล่างแล้วปล่อยโล่งช่วงบน
ข้อดี คือ โครงสร้างมีน้ำหนักเบาจึงทำให้เกิดการทรุดตัวได้ยาก ใช้วัสดุปริมาณน้อย ทำให้ราคาในการก่อสร้างประหยัดกว่าครัวแบบทึบ
ข้อเสีย คือ เรื่องของสัตว์ที่เข้ามาหาเศษอาหาร เช่น หนู, แมลงสาบ, นก, แมว เป็นต้น รวมถึงไม่มีผนังป้องกันฝุ่นที่ลอยเข้ามา ทำให้ครัวสกปรกได้ง่าย ควรหมั่นทำความสะอาด และเก็บจานชามอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มิดชิดก็จะช่วยป้องกันได้
อีกส่วนของการต่อเติมครัวที่สำคัญก็คือ เคาเตอร์ครัว เราจะเลือกใช้แบบไหน มีข้อแนะนำเพิ่มเติม
- เคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบได้
ส่วนมากใช้วัสดุไม้สังเคราะห์มาทำเป็นแผ่นและรูปทรงต่าง ๆ สำหรับนำมาประกอบเป็นเคาน์เตอร์ครัว โดยมักใช้ในคอนโด ซึ่งมีจำนวนสมาชิกในบ้านน้อยและงานครัวเป็นแบบเบา หรือปานกลาง
- เคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูปแบบบิวท์อิน (Built-in)
เป็นการนำชิ้นส่วนเคาน์เตอร์ครัว ที่สร้างแล้วมายึดติดตายตัว โดยมากใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานมาก เช่น หินแกรนิต และหินอ่อน เหมาะกับบ้านที่ใช้สอยครัวค่อนข้างหนัก
- เคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูปแบบปูน
เคาน์เตอร์ครัวปูนเป็นการนำชิ้นส่วนเคาน์เตอร์ครัวที่หล่อปูน แล้วมาประกอบและยึดติดตายตัว เหมาะกับงานครัวหนัก เพราะแข็งแรงที่สุด เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นสำหรับเคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูป
เพียงเท่านี้ก็จะครัวที่ต่อเติมในบริเวณหลังบ้านของทาวน์โฮมที่สวยและใช้ประโยชน์ได้ดี อย่าพลาดข้อมูลดี ๆ จาก townhomeplus.com