มีงบน้อย อยากได้ทาวน์ เฮ้า ส์ 800 000 บาท พอเป็นได้หรือไม่
สำหรับคนที่มีงบน้อย อยากจะมีที่พักอาศัยเป็นของตัวเอง ทางเลือกนั้นก็อาจจะต้องดูว่างบประมาณที่มีนั้นจะซื้อเป็นทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดดี รวมไปถึงทำเลที่จำเป็นสำหรับการเลือกซื้อบ้านด้วย เพราะถ้าซื้อบ้านที่ไกลจากที่ทำงานมาก ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การที่จะต้องเสียเวลาเดินทางทุกวัน อาจจะทำให้เปลืองเงินมากขึ้นไปดี
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าถ้าเรามีงบ 800000 บาท เราจะเลือกซื้อทาวน์เฮาส์หรือคอนโดจะมีข้อดี ข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง
- จำนวนสมาชิกในครอบครัว ทาวน์เฮาส์นั้น แน่นอนว่ามีพื้นที่มากกว่าคอนโด ถ้าสมาชิกครอบครัวมีมากกว่า 3 คน การมีพื้นที่จากทาวน์เฮาส์ก็จะเหมาะสมมากกว่า
- ทำเลกับราคา สมมุติว่า สมมติคอนโด A อยู่ชานเมืองราคา 2 ล้านบาท และติดรถไฟฟ้า 500 เมตร กับทาวน์เฮาส์B ราคา 2 ล้านบาท ชานเมืองเหมือนกัน แต่ไม่ติดรถไฟฟ้า ต้องออกมาจากหมู่บ้านราวๆ 5 – 7 กิโลเมตร ในแง่ของความคุ้มค่า ถ้าวัดกันที่ทำเลคือความคุ้มค่า ทาวน์เฮาส์แพ้ แต่ถ้าวัดกันที่พื้นที่ใช้สอย เมื่อเทียบกันด้วยราคาต่อตารางเมตร ทาวน์เฮาส์ นำขาด
เนื่องจากในราคาที่เท่ากัน ทาวน์เฮาส์ได้พื้นที่ใช้สอยมากกว่าเกือบ 3 เท่า การได้พื้นที่เพิ่มเข้ามาในแง่ของการใช้ชีวิต ก็ได้ความสบายที่ต่างกัน อย่างน้อยก็มีพื้นที่ใช้ชีวิตเยอะมากขึ้น ทำให้สามารถแต่งบ้านได้ตามต้องการมากกว่าหลายเท่า อยากได้อะไรก็เพิ่มได้ ขณะที่คอนโด เพิ่มพื้นที่ใช้สอยน่าจะยาก
หรือหากวันหนึ่งจากคนโสด เปลี่ยนมามีแฟน การมีพื้นที่มากกว่าคอนโด ย่อมดีกว่าในการใช้ชีวิตคู่ในระยะยาวอยู่แล้ว หรือถ้าเหงา แล้วอยากเลี้ยงสัตว์ ทาวน์เฮาส์ทำได้สบายเพราะพื้นที่เหลือเฟือ ไม่แออัด ไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ ขณะที่คอนโด แค่เลี้ยงปลายังยากเลย พื้นที่มากกว่า ก็สะดวกกว่า
- การดูแลรักษา เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นภายในคอนโดท่อรั่วมีปัญหาจะแก้ไข บางทีแก้ที่ท่อห้องของเราอย่างเดียวไม่ได้นะครับ ต้องแก้ท่อจากห้องของคนอื่นที่ท่อเชื่อมกันกับห้องเราอีก บางทีก็เกิดปัญหาที่ไม่ได้มาจากห้องเรา แต่ห้องอื่นเป็นเหตุก็ทำให้เราเสียเวลา เสียสุขภาพจิตด้วย ยังไม่รวมปัญหาจุกจิกอื่นๆ เช่น ลิฟต์พัง ไฟไม่ติด ปั้มน้ำไม่ไหล เน็ตไม่แรง และสารพัดสิ่งที่มีโอกาสเจอได้ในคอนโดแล้วชีวิตวุ่นวายแน่ๆ ในการแก้ปัญหา แต่ถ้าเป็นทาวน์เฮาส์ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไร การแก้ไขก็คือแก้ที่บ้านของเรา ไม่ต้องไปเดือดร้อนเพื่อนบ้านด้วย
เอาล่ะดูมาหลายเหตุผลแล้ว จะเห็นได้ว่าการมีทาวน์เฮาส์เหมาะที่จะเป็นบ้านหลังแรกที่เราจะจับจองเป็นเจ้าของกัน แต่ถ้าเรามีงบ 800000 บาทล่ะ จะพอซื้อทาวน์เฮาส์หรือไม่ อันนี้ก็ต้องดูทำเลที่เราต้องการจะซื้อ ซึ่งถ้าเป็นทาวน์เฮาส์ในกรุงเทพหรือปริมณฑลก็ต้องบอกกันตามตรงว่าเป็นไปไม่ได้ หรือจะเป็นต่างจังหวัดโครงการที่เป็นทาวน์เฮาส์ต่ำกว่าล้านนั้นหายากมาก แล้วถ้างบไม่พอเราจะทำยังไงดี เราเลยมีเทคนิคและวิธีสำหรับคนที่ต้องการเก็บเงินซื้อบ้านมาฝากกัน
1. เก็บเงินซื้อบ้านก้อนแรกสำหรับดาวน์บ้าน 20%
ก่อนจะซื้อเราต้องไม่ลืมเก็บเงินซื้อบ้านก้อนแรกสำหรับเงินดาวน์ นอกจากนั้น ยังมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่านายหน้า ค่าจดจำนอง เป็นต้น การวางแผนเก็บเงินซื้อบ้าน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เมื่อประเมินคร่าว ๆ ควรมีอย่างน้อย 20% ของราคาบ้าน
- เงินเข้าปุ๊บ ออมทันที อย่าใช้ก่อนแล้วค่อยออมเงิน
เมื่อรู้ว่าต้องมีเงินเท่าไรสำหรับเงินดาวน์และค่าเดินเรื่องซื้อขายต่าง ๆ ก้อนแรกแล้ว ทีนี้มาดูวิธีเก็บเงินซื้อบ้านเพื่อพิชิตเป้าหมายกันบ้าง สำหรับพนักงานประจำที่มีรายได้แน่นอนทุกเดือน อาจเลือกใช้วิธีตัดเงินเดือนเข้าบัญชีเงินออมแบบอัตโนมัติทันที เพื่อไม่ให้เราเผลอใช้จนลืมเก็บไปซะก่อน
3.ฝึกความอดทนขั้นสูง ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง
ไม่ใช่แค่มีเงินดาวน์ครบแล้วจะใช้จ่ายอย่างไรก็ได้ ต้องไม่ลืมว่ายังมีค่าผ่อนรายเดือน อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ไหนจะค่าประกัน ค่านิติบุคคล ค่าส่วนกลาง หรือตกแต่งบ้านตามสไตล์ที่ชอบอีก ซึ่งกว่าจะหมดต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 10 ปีแน่นอน เพราะฉะนั้น เราต้องระวังเรื่องการใช้จ่ายให้มากขึ้น ชอปปิงอย่างมีสติ ไม่สร้างภาระให้ตัวเองต้องลำบากในภายหลัง ในกรณีที่มีหนี้สินค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนชำระสินค้า หรือหนี้รถยนต์ ควรจัดการให้เรียบร้อยก่อน เพื่อให้เรามีกำลังผ่อนบ้านได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลเรื่องหนี้ก้อนอื่นเลย ซึ่งเราขอแนะนำว่าควรเผื่อเงินสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อย่างน้อย 25-30% ของเงินเดือน
4.เลือกสินเชื่อบ้านที่ดีและเหมาะกับตัวเองที่สุด
หลายคนมักเลือกกู้สินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินที่มีข้อเสนอที่ดีที่สุด พิจารณาได้จากอัตราดอกเบี้ย แต่ต้องดูในภาพรวมด้วยว่าเหมาะสมกับระยะเวลาผ่อนชำระหรือไม่ ไม่ใช่ดูแค่ว่าดอกเบี้ยในปีแรกต่ำเท่านั้น โดยแบ่งเป็นประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่ หมายถึงดอกเบี้ยที่ต้องชำระในช่วง 1-5 ปีแรกจะยังคงที่ และค่อยปรับเป็นแบบลอยตัวตามเงื่อนไขที่สถาบันการเงินกำหนด อีกประเภทหนึ่งคืออัตราดอกเบี้ยที่ลอยตัว หมายถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระคงที่ในช่วงแรกเท่านั้น จากนั้นจะปรับขึ้นลงตามสถานการณ์ตลาดเงิน สถาบันการเงิน ซึ่งเราจะไม่รู้เลยว่าแต่ละปีจะปรับเท่าไร ซึ่งบางปีอาจปรับขึ้นสูง และอย่าลืมว่าอัตราดอกเบี้ยบ้านของบ้านใหม่กับบ้านมือสองก็ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ ต้องดูค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ จดจำนอง ไถ่ถอนจำนอง ค่าประเมินมูลค่าประกัน ฯลฯ
5.มองหาโปรโมชันที่คุ้มค่าเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย
เพราะบ้านหรือคอนโดเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่ที่มีราคาสูงและใช้เวลาผ่อนชำระเป็นเวลานาน แต่จะวางแผนเก็บเงินซื้อบ้านหรือคอนโดอย่างไรให้ถูกและดี? สำหรับการวางแผนซื้อบ้าน หนึ่งในนั้นคือการมองหาโปรโมชันที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซา นับเป็นเวลาทองที่เราจะซื้อได้ในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม เพราะธุรกิจอสังหาฯ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก บางโครงการจึงทยอยจัดโปรฯ สุดคุ้มเพื่อดึงดูดลูกค้า เช่น อยู่ฟรี 2 ปี ลดราคาลงเกือบครึ่ง แถมเฟอร์นิเจอร์ทั้งหลัง ฯลฯ ส่วนบ้านหรือคอนโดมือสอง เราอาจใช้จังหวะนี้ต่อราคาได้เยอะขึ้นอีกด้วย
การซื้อบ้านหรือทาวน์เฮาส์นั้นเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ถ้ามีการวางแผนที่ดี โอกาสที่จะได้เป็นเจ้าของไม่ไกลเกินไปแน่นอน ติดตามข้อมูลดี ๆ อีกมากมายได้ที่ townhomeplus.com