อยากขาย ทาวน์โฮม ลาดพร้าว บ้านมือสองด้วยตัวเองทำได้หรือไม่
ย่านลาดพร้าวถือเป็นย่านใจกลางเมืองที่มีคนอยู่อาศัยอยู่เยอะ ที่มีทาวน์โฮมซึ่งอาจจะเป็นบ้านหลังแรกที่ซื้อ ต่อมาบางคนอาจจะอยากขยับขยายจากย่านลาดพร้าวไปอยู่ทำเลอื่น ทำให้ต้องขายบ้านเดิม หลายคนอยากจะลองขายบ้านด้วยตัวเอง แต่ยังไม่รู้จะต้องทำอย่างไรวันนี้เรามีข้อมูลของการขายบ้านมาให้ลองศึกษากันก่อน
วิธีการประกาศขายบ้าน
- การโพสต์ขายบ้านในเว็บฟรีต่าง ๆ โดยไม่เสียเงิน เว็บขายที่ดินไหนฟรี ลงไปให้หมด ภาพที่ลงควรถ่ายให้สวย ๆ จัดบ้านให้สะอาดตา ภาพที่ลงควรมีทั้งภายนอก ภายใน และรายละเอียดบ้านให้ครบ รวมถึงจุดเด่นของบ้าน พรรณนาไปให้หมด
- พิกัดบ้านที่ลงต้องชัดเจน บางคนไม่บอก คนซื้อก็ไปไม่ถูก GPS ลงไปด้วย
- ติดป้ายประกาศขายหน้าบ้าน หลายคนมักจะอายที่จะติดป้ายขายบ้าน ไม่อยากตอบคำถามเวลาเพื่อนบ้านมาถาม แต่ควรทำนะ เพราะถ้าเวลาคนซื้อสนใจมาดูบ้านโดยไม่บอกเรา เขาจะทราบได้ทันทีว่าบ้านที่เขาสนใจอยู่ตรงนี้ และเพื่อนบ้านนั่นแหละ ถ้าเขามีญาติพี่น้อง อยากให้มาอยู่ใกล้กัน ก็มีโอกาสที่จะขายได้มากขึ้น
- เข้ากลุ่ม Facebook ซื้อ-ขายที่ดิน มีหลายกลุ่มนะ ทั้งเฉพาะพื้นที่ภาคและทั่วประเทศ เข้ากลุ่มไปให้หมด เวลามีคนมาถามหาที่โซนเดียวกับเรา ก็จะได้เสนอได้ทันที แต่เข้าร่วมกลุ่มแล้วก็ต้องหมั่นเข้าไปดูบ่อย ๆ กดไลก์บ้าง ไม่งั้นเฟซบุ๊กจะปิดกั้นการมองเห็น
- ประกาศแจ้งในไลน์กลุ่มหมู่บ้าน กลุ่มไลน์ต่าง ๆ เช่น บ้านนี้ขายนะคะ สนใจติดต่อได้… อย่างที่บอกว่าคนในหมู่บ้าน ถ้ามีญาติ ๆ เพื่อน ๆ ที่รู้จักกำลังต้องการซื้อบ้าน เขาจะได้แนะนำ เป็นการเพิ่มโอกาสในการขายอีกทาง
ขั้นตอนทำสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย สิ่งที่ต้องระบุให้ชัดเจนในสัญญา คือ
- ข้อตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายในวันโอน ณ สำนักงานที่ดิน ตรงนี้ตกลงกันให้ดีว่าใครจะจ่ายส่วนไหน เพื่อไม่ให้มีปัญหาวันโอน โดยค่าโอนจะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่าย ดังนี้
– ค่าธรรมเนียมโอน 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์
– ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดจากราคาประเมินทุนทรัพย์
– ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือราคาซื้อ-ขาย แล้วแต่ว่าราคาไหนสูงกว่า ก็ให้คิดจากราคานั้น
– ค่าอากรฯ 0.5% ของราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือราคาซื้อ-ขาย แล้วแต่ว่าราคาไหนสูงกว่า ก็ให้คิดจากราคานั้น
(ราคาประเมินทุนทรัพย์ คือ ราคาที่ประเมินจากที่ดิน ไม่ใช่ราคาประเมินจากธนาคารหรือบริษัทประเมินบ้านนะคะ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะต่ำกว่าราคาซื้อ-ขายเยอะมาก)
ที่ต้องเสียแน่ ๆ คือ ค่าโอนและภาษีเงินได้ ส่วนภาษีธุรกิจเฉพาะหรือค่าอากร จะเสียเพียงตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น หากต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็จะได้รับการยกเว้นไปไม่ต้องเสียค่าอากรฯ แต่ถ้าได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ให้ไปเสียค่าอากรฯ แทน
- ตกลงการมัดจำ เงินมัดจำใครจะคิดเท่าไหร่ ก็ประเมินเอาเอง เพราะตรงนี้ถือเป็นค่าเสียเวลา กรณีที่คนซื้อเปลี่ยนใจหรือกู้ไม่ผ่าน
- ระยะเวลาของสัญญา ก็ระบุไปว่าให้เวลาคนซื้อเท่าไรในการยื่นกู้
ขั้นตอนการไถ่ถอนบ้าน ในกรณีที่บ้านติดผ่อนธนาคารอยู่ หลังจากคนซื้อยื่นกู้ผ่านแล้ว สิ่งที่คนขายต้องทำ คือ
- ติดต่อธนาคารที่กู้ แจ้งเรื่องขอไถ่ถอน
- ธนาคารจะส่งเอกสารมาทางอีเมล ให้เราพรินต์และกรอกข้อมูล เป็นเอกสารขอไถ่ถอนหลักทรัพย์ เซ็นสำเนาบัตรประชาชน จากนั้นก็ถ่ายรูปและส่งอีเมลกลับไป
- รอธนาคารติดต่อมาเพื่อนัดหมายวันไถ่ถอน ธนาคารแจ้งมา เราก็แจ้งคนซื้อไป คนซื้อไปแจ้งสหกรณ์ นัดหมายตกลงกัน
- รอธนาคารแจ้งยอดปิด ตรงนี้หลังจากที่ได้วันนัดหมายโอนบ้านแล้ว ทางธนาคารจะแจ้งยอดปิดมาให้ เพื่อให้เราแจ้งคนซื้อทำเช็ค 2 ใบ โดยใบแรกเป็นชื่อธนาคารตามยอดที่เราติดหนี้แบงก์ อีกใบเป็นส่วนต่างจะเป็นชื่อเรา
นัดหมายโอนบ้าน เอกสารที่ใช้และขั้นตอน คือ นำบัตรประชาชนตัวจริงพร้อมกับสำเนา กรณีมีคู่สมรสก็เตรียมไปด้วยนะคะ แล้วก็พวกสำเนาโฉนด สำเนาทะเบียนบ้าน ชำระเงินค่าใช้จ่ายเรียบร้อย ก็มารับเอกสาร เป็นอันเสร็จขั้นตอน รับเช็ค กลับบ้าน
และหลังจากนั้นเราก็ไปทำเรื่องย้ายทะเบียนบ้าน โอนมิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟให้เจ้าของบ้านคนใหม่ สำหรับการโอนมิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟ ต้องใช้สำเนาใบเสร็จค่าประกันมิเตอร์ สำเนาโฉนดที่ดิน และสำเนาทะเบียนบ้านไปด้วย เขาจะคืนเงินประกันให้เจ้าของเดิม และเก็บค่าประกันใหม่จากเจ้าของใหม่
ขั้นตอนต่าง ๆ ของการขายบ้านเองนั้น จะเร็วหรือจะช้าขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง ถ้าใครไม่สะดวกจะใช้บริการจากนายหน้าเพื่อจะได้ลดความยุ่งยากต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินการด้วยตัวเองก็ได้ เพราะนายหน้านั้นจะมีเชี่ยวชาญและให้ข้อแนะนำที่ดีได้ ซึ่งถ้าใครมีทาวน์โฮมแถวลาดพร้าวแล้วต้องการขายล่ะก็ เชื่อว่าใช้เวลาไม่นานในการขาย เพราะเป็นย่านทำเลของที่พักอาศัยใจกลางเมืองก็ว่าได้
ติดตามข้อมูลของทาวน์โฮม ได้ที่ townhomeplus.com