ห้องครัว ทาวน์โฮม แชร์ไอเดีย ในการออกแบบพื้นที่เล็ก ๆ ให้สามารถใช้งานได้
พื้นที่ห้องครัว ทาวน์โฮมมักจะเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก มีพื้นที่จำกัด สำหรับใครที่ชอบการทำอาหาร พื้นที่ห้องครัวอาจจะเป็นพื้นที่ที่ใช้บ่อยและมุมโปรดภายในบ้าน รูปแบบของจัดห้องครัวสามารถทำได้หลายรูปแบบ ก่อนจะลงมือออกแบบและจัดวางพื้นที่ห้องครัวอาจจะต้องสำรวจข้อมูลกันก่อน
1. สำรวจความต้องการและความชอบของตัวเอง
เราอาจจะต้องมาดูกันว่าตัวเราและสมาชิกครอบครัวคาดหวังและจะใช้งานห้องครัวในรูปแบบใดบ้าง หากจะต้องทำอาหารแบบจริงจัง เป็นอาหารไทย ที่มีกลิ่น มีกระบวนการทำทั้งผัด ตัม แกง ทอดอยู่ประจำ ห้องครัว ทาวน์โฮมของเราก็ต้องรองรับการใช้งานดังกล่าว รวมถึงปัญหาที่อาจจะมีเช่น กลิ่น คราบน้ำมัน สิ่งสกปรก ขยะ ว่าเราจะดูแลอย่างไร
- ลักษณะการใช้งานของครัวความถี่ในการใช้งานห้องครัวมีมากน้อยแค่ไหน เรามีแขกมาเยี่ยมบ้าน ชอบจัดปาร์ตี้ ของใช้ในครัวมีจำนวนมากหรือไม่ การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นอย่างไรบ้าง เราจะต้องมีเฟอร์นิเจอร์หรือการจัดเก็บของที่มีในรูปแบบไหนเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกและหยิบจับได้ง่าย
- จากนั้นให้ลองออกแบบแปลนห้องครัว
ลองดูแบบห้องครัว ทาวน์โฮมในหนังสือหรืออินเตอร์เน็ต ที่เราชอบแล้วลองเอามาเปรียบเทียบกับพื้นที่ห้องครัวของเรา มีแบบที่เหมาะกับพื้นที่ของเรา เขียนข้อมูลที่เราต้องการ ข้อดีข้อเสีย ของแต่ละแบบ อย่าลืมดูเรื่องแสง การระบายอากาศ ทิศทางของลม รวมไปถึงพื้นที่การใช้งานด้วย
- ลงแบบแปลนและปรึกษาสถาปนิกถ้าเราลองเป็นสถาปนึกด้วยตัวเองแล้วไม่เวิร์ค ก็ควรจะปรึกษาสถาปนิกตัวจริง อาจจะลองวาดแบบด้วยตัวเอง จะใช้โปรแกรมออกแบบบ้านง่าย ๆ ร่างแบบคร่าว ๆ แล้วเอาไปให้ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงอย่างสถาปนิกมาช่วยดูเรื่องรายละเอียดทางเทคนิค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องท่อระบายน้ำ การเดินสายไฟ ท่อน้ำทิ้ง ถังดักไขมัน เพราะนอกจากจะสวยแล้ว ห้องครัว ทาวน์โฮม จะต้องถูกหลักในการทำความสะอาดด้วย
แนะนำไอเดียการทำห้องครัว ทาวน์โฮม เป็นแนวทางพร้อมงบประมาณ
ห้องครัว ทาวน์โฮมแบบป้องกันพื้นทรุด
บ้านไหนที่มีปัญหาพื้นทุด ในการทำห้องครัว ทาวน์โฮมนั้นแนะนำให้ออกแบบให้ไม่มีส่วนไหนที่ยึดติดกับตัวบ้าน ให้เชื่อมต่อกับส่วนที่เป็นผนังบ้านเท่านั้นก็พอ เพราะเมื่อพื้นทรุดแล้ว ก็จะทรุดแค่ห้องครัว จะไม่กระทบไปถึงตัวบ้าน ที่เป็นหลังคาก็แนะนำให้ใช้หลังคา 2 ชั้น เพื่อให้สามารถระบายอากาศได้ดี ยิ่งถ้าเราทำเป็นครัวแบบปิดไม่ต้องการเจาะผนังหรือพื้นที่จำกัดไม่สามารถเจาะผนังได้ นอกจากนั้นการทำตู้หรือเคาเตอร์ Built-in นั้น ควรจะดูเรื่องระบบไฟ ระบบน้ำเสีย อาจจะเลือกใช้ไม้เฌอร่า ไม้ระแนงเพื่อให้มีส่วนที่โล่ง ให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ อีกอย่างวัสดุแบบนี้มีน้ำหนักเบา มีความสวยงาม ครัวแบบนี้ควรจะมีส่วนที่เจาะผนังหรือหน้าต่างที่เชื่อมกับผนังของบ้าน เพื่อให้เป็นส่วนที่ส่งอาหาร แล้วก็ปิดได้ไม่ให้กลิ่นระหว่างปรุงอาหารลอยเข้าตัวบ้าน งบประมาณสำหรับการทำครัวแบบนี้ อยู่ที่ประมาณ 60,000 ไม่เกิน 100,000 บาท
ห้องครัว ทาวน์โฮมสไตล์ Loft
เป็นอีกรูปแบบสำหรับการทำห้องครัว ความดิบของผนังปูนเปลือยที่ดูแลง่าย ซึ่งเราสามารถเลือกผนังปูนเปลือยที่เป็นแบบสำเร็จ นำมาใช้ผนังห้องครัว ซึ่งถือว่าสะดวกมากและสวยเหมือนของจริง ห้องครัวแบบนี้เหมาะกับครัวไทยเป็นอย่างมาก เพราะมีความทนทาน การทำอาหารไทยที่อาจจะต้องใช้เขียง ครก ที่อาจจะมีคราบสกปรก ซึ่งจะทำความสะอาดได้ง่าย ซึมน้ำได้ดีแห้งเร็ว ไม่ทิ้งความชื้นที่อาจจะทำให้เกิดเชื้อราได้
ห้องครัว ทาวน์โฮมแบบปูนเปลือยแนะนำให้ทำไว้ด้านข้างหรือด้านหลังของตัวบ้าน ทำเป็นครัวปิดทึบ โดยใช้ผนังทั้ง 4 ด้าน และอาจจะมีการเจาะหน้าต่างด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อลดการเดินเข้าออก ในการจัดเสริฟอาหาร ก็สามารถเสิร์ฟผ่านทางช่องหน้าต่างนี้ได้เลย สิ่งที่เราต้องเพิ่มเติมเพียงเรื่องเดียวก็คือ ท่อดูดควัน เพื่อลดกลิ่นและระบายอากาศ ภายในห้องครัวนั่นเอง
รูปแบบของการใช้วัสดุในการต่อเติมครัวทาวน์โฮมแบบนี้ใช้งบประมาณ อยู่ที่ 60,000 บาท
การเลือกกระเบื้องและผนังห้องครัว ทาวน์โฮม
พื้นของครัวหลังบ้านก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ เพราะพื้นมีโอกาสเกิดรอยเปื้อนจากอาหารและคราบมันต่าง ๆ ได้ง่าย ควรเลือกพื้นผิวที่เรียบแต่ไม่ลื่น เช่น กระเบื้องโฮโมจีเนียส (Homogeneous) ซึ่งมีผิวสัมผัสหยาบ แต่ขอบเรียบตัดตรง สามารถปูได้ชิด ลดปัญหาคราบสกปรกที่สะสมตามร่องยาแนว หรือหินสังเคราะห์ ก็มีอัตราการดูดซึมน้ำต่ำ นอกจากนี้ยังดูสวยงาม และทนทานด้วย
นอกจาก 3 ปัจจัยนี้แล้ว สิ่งที่ห้องครัวที่ดีจะต้องมีก็คือความสะอาด ดังนั้นสำหรับใครที่คิดจะต่อเติมห้องครัว ไม่ว่าจะเป็นครัวในบ้าน หรือครัวหลังบ้าน หลังใช้งานทุกครั้งก็ต้องทำความสะอาด เพื่อให้ห้องครัวมีความน่าใช้ตลอดเวลา และยังช่วยเรื่องสุขอนามัยที่ดีในบ้านด้วย
แนะนำเคาเตอร์ครัวสำหรับห้องครัว ทาวน์โฮม
1. เคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบได้
ส่วนมากใช้วัสดุไม้สังเคราะห์มาทำเป็นแผ่นและรูปทรงต่าง ๆ สำหรับนำมาประกอบเป็นเคาน์เตอร์ครัว โดยมักใช้ในคอนโด ซึ่งมีจำนวนสมาชิกในบ้านน้อยและงานครัวเป็นแบบเบาหรือปานกลาง
- เคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูปแบบบิลท์อิน
เป็นการนำชิ้นส่วนเคาน์เตอร์ครัวที่สร้างแล้วมายึดติดตายตัว โดยมากใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานมาก เช่น หินแกรนิตและหินอ่อน เหมาะกับบ้านที่ใช้สอยครัวค่อนข้างหนัก
- เคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูปแบบปูน
เคาน์เตอร์ครัวปูนเป็นการนำชิ้นส่วนเคาน์เตอร์ครัวที่หล่อปูนแล้วมาประกอบและยึดติดตายตัว เหมาะกับงานครัวหนัก เพราะแข็งแรงที่สุดเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นสำหรับเคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูป